การแต่งกายประดับเครื่องราชอสิรยาภรณ์

การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามหมายกําหนดการ หรือกําหนดนัดหมายของทางราชการ

ในหมายกําหนดการหรือกําหนดนัดหมายของทางราชการในพระราชพิธีหรือรัฐพิธีต่างๆ จะมีข้อความระบุการแต่งกายในแต่ละโอกาส เช่น ให้แต่งกายเต็มยศ ครึ่งยศ หรือปกติขาว แล้วแต่กรณี ผู้แต่งกายต้องตรวจสอบหมายกําหนดการหรือข้อความที่ระบุ การแต่งกายในกําหนดนัดหมายของทางราชการให้ชัดเจน แล้วแต่งกายและประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ การที่จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ร่วมกับการ แต่งกายดังกล่าวตามที่ระบุไว้ได้อย่างถูกต้องนั้น มีหลักสําคัญที่ควรทราบ ดังนี้

1. กรณีให้แต่งกายเต็มยศ (บุรุษ เสื้อขาว กางเกงสีดํามีแถบสีเลือดหมู (ยศ พล.ต.ต.ขึ้นไป มี 3 แถบ ยศ ร.ต.ต. – พ.ต.อ. มี 2 แถบ) สตรี เสือขาว กระโปรงสีดํา)
1.1 ไม่ระบุชื่อสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้สวมสายสะพายเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทานเพียงสายเดียว โดยประดับดาราของเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทานแต่ละตระกูลตามลําดับเกียรติ (ดูรายละเอียดวิธีประดับหน้า 2 – 10, 15 – 22 และ 32 – 40)
1.2 ระบุชื่อสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้สวมสายสะพายเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ตามที่ระบุ แม้ว่าจะได้รับพระราชทานสายสะพายที่มีลําดับเกียรติสูงกว่าก็ตาม เช่น ระบุให้สวมสายสะพายมงกุฎไทย หากได้รับพระราชทานชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย และชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก ก็ให้สวมสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย แต่ให้ประดับ ดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของแต่ละตระกูลที่ได้รับพระราชทานตามลําดับเกียรติ และหากมิได้รับพระราชทานสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ระบุชื่อ ให้สวม สายสะพายหรือประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน โดยประดับดาราตามลําดับเกียรติ อาทิ หากหมายกําหนดการ ให้แต่งกายเต็มยศ สวมสายสร้อยจุลจอมเกล้า หรือให้แต่งกายเต็มยศ สวมสายสะพายช้างเผือก ผู้ที่ได้รับพระราชทานชั้น สูงสุด ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย โดยยังไม่ได้รับพระราชทานชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก หรือผู้ได้รับพระราชทานชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ เป็นชั้นสูงสุด ให้สวมสายสะพายประถมา ภรณ์มงกุฎไทยหรือสายสะพายปฐมดิเรกคุณาภรณ์ แล้วแต่กรณี เป็นต้น (ดูรายละเอียดวิธี ประดับหน้า 41 – 44)

2. กรณีให้แต่งกายครึ่งยศจะแต่งกายเช่นเดียวกับเต็มยศ โดยประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน เว้นแต่ผู้ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย เมื่อประดับดาราชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทานแต่ละตระกูลแล้ว ไม่ต้องสวมสายสะพาย (ดูรายละเอียดวิธีประดับหน้า 11 – 23 และ 24 – 40)

3. กรณีให้แต่งกายปกติขาว (เสื้อขาว กางเกงหรือกระโปรงสีขาว) ให้ประดับแพร แถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามชั้นตราที่ได้รับพระราชทาน แต่หากระบุให้แต่งกาย ปกติขาวประดับเหรียญ ให้ประดับเฉพาะเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้าย โดยไม่ ประดับดาราหรือสายสะพาย (ดูรายละเอียดวิธีประดับหน้า 73 – 74)

4. ชุดปกติเสื้อนอกคอแบะกากี ให้ประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นตราที่ได้รับพระราชทาน แต่หากหมายกําหนดการให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามชั้นตราที่ได้หรือเหรียญราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับตามที่หมายกําหนด (ดูรายละเอียดวิธีประดับหน้า 45 – 70 และ 75 – 76)

5. ชุดสโมสร (เสื้อกั๊กสีขาว กางเกงสีดํามีแถบ สตรีกระโปรงยาวคลุมข้อเท้าสีดํา) การ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดติดหน้าอกตั้งแต่ชั้นที่ 4 ลงมา หรือเหรียญราช อิสริยาภรณ์ประดับเป็นแบบย่อส่วน โดยประดับที่ปกเสื้อตัวนอกข้างซ้ายใต้เครื่องหมายสังกัด กรณีประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอและชนิดคล้องคอมีดารา ให้ประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน (ไม่ต้องย่อส่วน) เฉพาะชั้นตราที่มีลําดับเกียรติ สูงสุดเพียงชั้นเดียว (ดูรายละเอียดวิธีประดับหน้า 27)

6. ชุดสากล ให้ประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานชั้นสูงสุด หากได้รับพระราชทานหลายตระกูลให้เลือกประดับชั้นสูงสุดที่ได้พระราชทานตระกูลใดตระกูลหนึ่งเพียงตระกูลเดียวในแต่ละโอกาส (ดูรายละเอียดวิธีประดับหน้า 78)

7.ในโอกาสพิเศษบางพิธี อาจมีหมายกําหนดการระบุให้แต่งกายปกติขาวประดับเหรียญ เช่น งานเลี้ยงพระและสมโภชราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ก็ให้แต่งกายปกติขาว แต่ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์แทนแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์โดยไม่ต้องสวมสายสะพายหรือสวมแพรแถบสวมคอแต่อย่างใด (ดูรายละเอียดวิธีประดับหน้า 73)

อนึ่ง ในกรณีเป็นงานศพซึ่งมีกําหนดการระบุให้แต่งกายเต็มยศ ครึ่งยศ หรือ ปกติขาวไว้ทุกข์ให้สวมปลอกแขนสีดําที่แขนเสื้อข้างซ้าย (ดูรายละเอียดวิธีประดับหน้า 71 – 72)

ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการแต่งกายที่มักพบเห็นอยู่เสมอ
(1) แต่งกายชุดสากล โดยประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(2) แต่งกายเต็มยศ แต่สวมสายสะพายผิดไปจากที่ระบุในหมายกําหนดการ หรือกําหนดนัดหมายของทางราชการ เช่น สวมสายสะพายมงกุฎไทย (สีน้ําเงิน) ไปใน งานที่ต้องสวมสายสะพายช้างเผือก (สีแดง)
(3) แต่งกายครึ่งยศ แต่สวมสายสะพาย (ซึ่งเท่ากับว่าแต่งกายเต็มยศ ทั้งที่ หมายกําหนดการระบุให้แต่งกายครึ่งยศ
(4) แต่งกายปกติขาว แต่สวมสายสะพาย
(5) แต่งกายเต็มยศ ครึ่งยศ หรือปกติขาวไปในงานศพที่มีกําหนดการระบุให้ไว้ ทุกข์แต่มิได้สวมปลอกแขนสีดําไว้ทุกข์

การที่จะแต่งกายอย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่ผู้แต่งกายจะกําหนดเอง แต่ต้องเป็นไปตาม หมายกําหนดการที่สํานักพระราชวังระบุ หรือตามกําหนดนัดหมายของทางราชการระบุ โดยพิจารณาความเหมาะสมหลายประการประกอบกันแล้ว เช่น ความเหมาะสมด้าน สถานที่ (พระอารามหลวงเกี่ยวเนื่องในรัชกาลใด) พิธีการ (เป็นการเข้าเฝ้าฯ ตามปกติหรือ วาระพิเศษ) หรือบุคคล (เป็นงานพระราชทานเพลิงศพผู้ใด) เป็นต้น

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ได้รับพระราชทานเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทาน มิให้ประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นก่อนกําหนดเวลาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับ พระราชทาน เว้นแต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสต่อไป ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่นๆ ให้ประดับได้ตั้งแต่วันเนื่องในโอกาสพระราชทานหรือ ตั้งแต่วันที่มีประกาศของทางราชการแล้วแต่กรณี

Related Articles

Latest Articles