อัตราโทษ “เมาแล้วขับ”

อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากผู้ขับรถมีอาการเมาแล้วขับ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยไปจนกระทั่งเมาไม่ได้สติก็ทำให้เกิดอุบัติได้เหมือนกันซึ่งเป็นเพราะว่าแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการกดประสาท ทำให้สติสัมปัญชัญญะในการตัดสินใจลดน้อยลง ในทางกฎหมายเองก็มีการจำกัดระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดของผู้ขับขี่ด้วยเช่นกัน ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบว่ามีระดับแอลกอฮอล์สูงกว่ากำหนด(ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) ผู้ขับขี่ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการปรับเงิน หรือการจำคุก ยิ่งถ้าตรวจพบระดับแอลกอฮอล์เกินกว่ากำหนด ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุด้วยแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็จะโดนโทษหนักมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2560 มีการปรับแก้ไขกฎหมายเรื่องเมาแล้วขับให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ดังนี้

เมาแล้วขับ
1. มีโทษจำคุก 1 ปี
2. ปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท
3. หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. และศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบขับขี่ไปเลย
5. และสามารถยึดรถไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน

เมาแล้วขับ ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
1. มีโทษจำคุก 1-5 ปี
2. ปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท
3. หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. และศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือเพิกถอนใบขับขี่ไปเลย

เมาแล้วขับ ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
1. มีโทษจำคุก 2-6 ปี
2. ปรับตั้งแต่ 40,000-120,000 บาท
3. หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. และศาลสามารถสั่งพักใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือเพิกถอนใบขับขี่ไปเลย

เมาแล้วขับ ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
1. มีโทษจำคุก 3-10 ปี
2. ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท
3. หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. และศาลสามารถสั่งเพิกถอนใบขับขี่เลย

โดยระดับแอลกอฮอล์ที่กฎหมายกำหนดคือ ต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ในร่างกาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ตรวจถ้าไม่ยอมให้ตรวจหรือเจตนาหลบหนีก็จะมีโทษทางกฎหมายด้วยเช่นกัน ซึ่งแอลกอฮอล์ในปริมาณดังกล่าวถือว่าเป็นปริมาณที่ต่ำมาก เพราะการดื่มเบียร์ 1 กระป๋องร่างกายจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ถึง 330 มิลลิกรัม ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วถ้าดื่มก็ไม่ควรขับเด็ดขาดเพราะเพียงแค่เริ่มดื่มปริมาณแอลกอฮอล์ก็เกินกว่ากฎหมายกำหนดแล้ว

อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือ อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่ากำหนดทางประกันจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันตัว หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทางศาล โดยผู้ขับขี่จะต้องเป็นผู้จ่ายเองทั้งสิ้น เมื่อทราบอย่างนี้แล้วถ้าทราบว่าจะต้องดื่มแอลกอฮอล์ควรใช้บริการรถแทกซี่ หรือให้ผู้ที่ไม่ได้ดื่มเป็นผู้ขับจะเป็นการปลอดภัยที่สุด

เครดิตภาพ : oohoo.io/th

Related Articles

Latest Articles